ห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก
1,673 ยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์, 8 ยอดผู้เข้าชมวันนี้
ประวัติความเป็นมาของห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก
โครงการหนึ่งเขตพื้นที่ หนึ่งโรงเรียนเรียนร่วมออทิสติก/PDDs หนึ่งห้องเรียนคู่ขนานออทิสติก/PDDs หนึ่งห้องเรียนสอนซ่อมสอนเสริม นับเป็นการต่อยอดหรือขยายผลโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันของรัฐบาลเป็นครั้งที่สองโดยครั้งแรกเป็นการต่อยอดหรือขยายผล ให้ครอบคลุมประชากรพิการในวัยเรียนทุกประเภท แบบภาพรวมทั้งคนพิการทางร่างกายและคนที่มีความบกพร่องทางสมอง ประมาณ 300 กว่าโรงเรียน รวมทั้งประชากรออทิสติก/PDDs ในวัยเรียนด้วย แต่เนื่องจากว่า การจัดการทางการศึกษาสำหรับประชากรในวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางสมอง โดยเฉพาะกลุ่มPDDs/ออทิสติก นั้น มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่แตกต่างไปจากประชากรพิการในวัยเรียนที่มีความพิการทางร่างกายอย่างมาก ซึ่งต้องการบริหารจัดการทางการศึกษาอย่างเฉพาะเจาะเจาะจง ที่มีความแตกต่างอย่างเป็นพิเศษ จากการบริหารจัดการทางการศึกษาพิเศษที่ใช้กับประชากรในวัยเรียนที่พิการทางร่างกายในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างและกระจายโรงเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทางด้านการจัดการศึกษาสำหรับประชากรในวัยเรียนที่มีความต้องต้องการพิเศษกลุ่มPDDs/ออทิสติก ให้ทั่วถึงทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยในระยะแรก เริ่มจากการพัฒนาโรงเรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตพื้นที่ ระยะที่สองพัฒนาไปสู่ระดับอำเภอ ระยะที่สามพัฒนาไปสู่ระดับตำบล และระยะที่สี่พัฒนาขยายเครือข่ายครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
๒. เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่มีความผิดปกติทางสมองแบบ PDDs/ออทิสติกในชนบท มีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพอันเป็นพื้นฐาน ให้สามารถเรียนรู้และช่วยเหลือตนเองได้ตลอดชีวิตโดยไม่เป็นภาระกับสังคม ให้สามารถคิด ให้เท่าทันโลกในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ทำให้เด็กกลุ่ม PDDs/ออทิสติกเติบโตคู่ขนานไปกับเด็กลุ่มปกติด้วยความเชื่อมั่น ด้วยความเข้าใจโลก และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๓. เพื่อพัฒนาเยาวชนกลุ่มPDDs/ออทิสติกคู่ขนานไปกับเยาวชนปกติไทย ให้เติบโตงอกงามด้วยความพร้อมแห่งศักยภาพภาพ ทั้งด้านความสามารถและคุณธรรมอย่างสากล ให้เป็นพลังสำคัญในการปรับเปลี่ยนและขับเคลื่อนอนาคตของชาติให้พัฒนาอย่างยั่งยืนและมีศักดิ์ศรี
ลักษณะของโรงเรียนเรียนร่วมออทิสติก/PDDs
จัดระบบการศึกษาแบบบูรณากิจกรรมการบำบัดทางกายภาพด้านการแพทย์ เข้ากับกิจกรรมการเรียนการสอนทางการศึกษาที่เชื่อมต่อกับระบบการศึกษาปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระบบบริหารจัดการได้อย่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ระหว่างการจัดการศึกษาให้นักเรียนปกติและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ผู้ปกครองนักเรียนพิเศษ ครูทั้งโรงเรียนเกื้อหนุนและหนุนช่วยครูห้องเรียนคู่ขนาน ครูทุกคนเข้าร่วมเป็นครูสอนซ่อมสอนเสริมห้องเรียนสอนซ่อมสอนเสริม